อยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ หยุดกังวลเรื่องแกรมมาร์ ! ตอนที่ 3
.
.
จากตอนที่ 1 และ 2 ถ้าใครอ่านแบบเปิดใจและเข้าใจจะรู้แล้วว่า ต่อให้เรียนการเรียนแกรมมาร์เก่งแค่ไหน ถ้าคุณไม่ฝึกพูดภาษาอังกฤษคุณก็อาจจะพูดไม่ได้
.
( แชร์เก็บไว้อ่านย้อนหลังได้เลยยย
ตอนที่ 1: www.mindenglishofficial.com/article/nogrammar
ตอนที่ 2: www.mindenglishofficial.com/article/nogrammar2 )
.
บางคนอาจแย้งว่า “ไม่จริง! เรียนแกรมมาร์ไปก็ทำให้พูดภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น รูปประโยคอะไรถูกต้องมากขึ้นนะ”
.
ถูก! ที่จริงแล้วการเรียนแกรมมาร์อาจมีส่วนทำให้พูดภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น แต่ถ้าเทียบกับความสำคัญในการพูดภาษาอังกฤษให้คล่องแคล่ว มั่นใจ แล้วล่ะก็ บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปสรรคหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว เพราะมัวแต่กังวลแกรมมาร์ เลยไม่กล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ เพราะกลัวผิด กลัวโน่น กลัวนี่ไปหมด
.
อาจจะเหตุผลนี้แหละที่ทำให้คนไทยไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เท่าที่ควรจะเป็น
.
ทำไมเป็นอย่างงั้นล่ะ ? ตามมาดูกันค่ะ !
.
.
เหตุผลข้อแรก คือหลักสูตรการเรียนการสอนของไทยเรา เรียน และสอบแต่แกรมมาร์ ครูก็เลยสอนแต่ แกรมมาร์ แกรมมาร์ แกรมมาร์ จนหลายคนเข้าใจกันว่าแกรมมาร์คือหัวใจของภาษาอังกฤษ ต้องท่องโครงสร้างประโยคให้เป๊ะ ต้องผันกริยาให้ถูก คำเชื่อมคำขยายอะไรต้องใส่ให้เป็น
.
แล้วพอเวลาผ่านไป ไม่ค่อยได้ใช้ก็เริ่มลืมๆ สิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ เริ่มไม่ค่อยกล้าพูด เพราะกลัวแกรมมาร์จะผิด!
.
พอไม่กล้าพูดบ่อยๆเข้า ในที่สุดเลยเลือกที่จะไม่พูดเลยดีกว่า จบ ง่ายดี! 555+
.
นี่แหละคือ “ปัญหา” ของเราๆ เพราะเราถูกสอนแกรมมาร์เป็นหลัก มากกว่าสอนให้เราสามารถสื่อสารได้ จนเข้าใจกันผิดเสมอๆ ว่า แกรมมาร์ is Everything
.
แกรมมาร์คือทุกสิ่งทุกอย่างของภาษาอังกฤษ พอเราเริ่มหลงลืมกฏไวยากรณ์ต่างๆ ทำให้เราพลอยไม่มั่นใจในการพูดไปด้วย
.
ความลับที่คนพูดอังกฤษคล่องอยากบอกคือ ถึงแม้แกรมมาร์จะผิดบ้าง แต่การออกเสียง Pronunciation ได้อย่างถูกต้อง สำเนียงดี นั้นสำคัญกว่ามาก เราต้องเปลี่ยนทัศนคติในการพูดภาอังกฤษของเราให้ได้เสียก่อน
.
ความลับที่ซีเคร็ตขึ้นไปอีกคือ ฝรั่งบางคน เวลาพูดบางครั้งก็ผิดหลักแกรมมาร์เหมือนกัน (เราคนไทยจะไปกังวลมากมายทำไม เน๊อะ! เราต้องรู้ว่าเป้าหมายในการสื่อสารของเราเพื่ออะไร คนที่เราสื่อสารด้วยเขาเข้าใจหรือไม่)
.
และความลับสุดยอดที่สุดคือ คนไทยหลายๆคนเก่งแกรมมาร์มากกว่าฝรั่งแท้ๆที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ด้วยซ้ำ แต่ดันพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เห้อ!ยิ่งฟังก็ยิ่งน่าเศร้า.
.
.
เหตุผลข้อที่ 2 คือ แกรมมาร์มีความสำคัญมากๆกับการเขียน (Writing) และมีความสำคัญรองลงมากับการอ่าน (Reading) แต่สำหรับการพูดนั้นแกรมมาร์ก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่น้อยกว่ามาก บางคนมองว่าซ้ำยังเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการพูด (Speaking) เสียด้วยซ้ำไป
.
เพราะเวลาพูด มันไม่มีเวลาเหมือนการเขียน ที่จะค่อยๆเขียนไปนึกไป ค่อยๆเรียบเรียงความคิดกันไปได้
.
แต่การพูด คือการสื่อสารที่ต้องการโต้ตอบทันทีและฉับพลันทันใด ต่างกับการเขียน และการอ่านที่คุณสามารถให้เวลากับมันได้
.
คนที่พูดภาษาอังกฤษกับฝรั่งได้คล่อง คือฟังปุ๊บเก็ทปั๊บ และเก็ทเป็นภาษาอังกฤษเลย โดยที่ไม่ต้องแปลกลับมาเป็นไทยก่อน ถ้าสื่อเป็นขั้นตอนก็จะประมาณว่า ฟังอังกฤษ>>คิดเป็นอังกฤษ>>พูดเป็นอังกฤษ
.
แต่สำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง พอฟังฝรั่งพูดมา ก็จะแปลสิ่งที่ฝรั่งพูดมาเป็นภาษาไทย แล้วนึกประมวลผลในภาษาไทย แล้วค่อยแปลเป็นอังกฤษอีกครั้ง เวลาจะตอบ
.
ถ้าให้นึกเป็นขั้นๆ ก็ประมาณว่า ฟังอังกฤษ>>แปลเป็นไทย>>คิดเป็นไทย>>แปลเป็นอังกฤษ>> ตอบเป็นอังกฤษ การคิดจากอังกฤษเป็นไทย และจากไทยเป็นอังกฤษกลับไปกลับมา ทำให้สมองประมวลผลช้า ทำให้พูดไม่คล่อง ตะกุกตะกักตลอด เพราะบางทีนึกคำไม่ออกว่าต้องพูดว่าอะไร
.
เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เวลาพูดต้องแปลไทย-อังกฤษกลับไป มาหลายรอบแล้ว ก่อนตอบต้องมาเช็คแกรมมาร์อีกว่า แกรมมาร์ เป๊ะหรือเปล่า กลายเป็นว่าเป็น ฟังอังกฤษ>>แปลเป็นไทย>>คิดเป็นไทย>>แปลเป็นอังกฤษ>>เช็ค แกรมมาร์>> ตอบเป็นอังกฤษ
.
ใครเป็นแบบข้างต้นนี่ กว่าจะพูดออกมาได้แต่ละประโยค เผลอๆฝรั่งบินกลับถึงบ้านเรียบร้อย 5555+…
.
เนี่ยแหละปัญหาของแกรมมาร์ ที่ทำให้คนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษกับฝรั่งได้อย่างคล่องๆไม่ได้ซักที
.
นอกจากแกรมมาร์ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคทำให้พูดไม่คล่องแล้ว เวลาฟังก็จะเป็นอุปสรรคเช่นกัน เพราะระหว่างฟัง แทนที่จะตั้งใจฟัง กลับต้องมารีบคิดคำตอบให้ถูกหลักแกรมมาร์ เป๊ะๆ
.
โถ อะไรมันจะขนาดน้านนนน…
.
สรุปเลยนะว่า แกรมมาร์ คือหนึ่งในอภิมหาอุปสรรคของการพูดภาษาอังกฤษของคนไทยอย่างเราๆ ดังนั้นถ้าตอนนี้ใครรู้ตัวเองว่ายังพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยคล่องแล้วล่ะก็…
.
ให้ลองวางหนังสือแกรมมาร์ลงก่อน แล้วหันมาฝึกฟังให้มากขึ้น!! คุณจะรู้ว่าหลักการพูดภาษาที่สองให้ได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากอะไร ที่ไม่ใช่แกรมมาร์!